Last updated: 23 พ.ค. 2567 | 82 จำนวนผู้เข้าชม |
ในทางตรงกันข้าม การงดอาหารจะทำให้เซลล์อื่นๆร่างกาย ที่ยังมีความต้องการสารอาหาร ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) หรือการขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลง ติดเชื้อได้ง่าย แผลหายช้า และเพิ่มภาวะแทรกซ้อนจากการรักษามะเร็งทั้งจากการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง
ดังนั้นสมาคมโภชนาการของยุโรป (European Society for Clinical Nutrition and Metabolism หรือ ESPEN) จึงให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วยมะเร็ง
ควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และไม่ควรงดอาหารโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือมีภาวะทุพโภชนาการ เช่น ผู้ป่วยที่กินได้น้อย มีน้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
หลายท่านอาจเคยได้ยินว่าองค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลไว้ว่าการรับประทานเนื้อแดง(red meat) เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อที่ผ่านการแปรรูป (processed meat) เช่น แฮม ไส้กรอก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่า
- การรับประทานเนื้อที่ผ่านการแปรรูปเพิ่มขึ้นทุก ๆ 50 กรัมต่อวัน
จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 17
- และการรับประทานเนื้อแดงเพิ่มขึ้นทุก ๆ 100 กรัมต่อวัน
จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 18
อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้คือ การเพิ่มความเสี่ยงในคนทั่วไปที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งและยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอในผู้ป่วยมะเร็งโดยตรง นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นต้องงดการรับประทานเนื้อแดงโดยสิ้นเชิง โดยคำแนะนำการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมักแนะนำให้จำกัดการรับประทานเนื้อ ที่ผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุดและรับประทานเนื้อแดงไม่เกิน ประมาณ 300-500 กรัมต่อสัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหลัก เนื่องจากมักมีปริมาณเกลือโซเดียม ไขมันอิ่มตัว และสารอื่น ๆที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยมะเร็งจะมีความต้องการโปรตีนที่มากขึ้น เนื่องจากมีการอักเสบ (inflammation) ที่อาจเกิดจากตัวมะเร็งเองและการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การผ่าตัด การอักเสบจะทำให้เกิดการสลายโปรตีนในร่างกายโดยเฉพาะโปรตีนจากกล้ามเนื้อ เพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้ในระบบต่าง ๆ
เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน การซ่อมแซมแผล
ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับโปรตีนมากกว่าคนทั่วไป คือ 1-1.5 กรัม/น้ำหนัก
ตัว 1 กก./วัน (คนทั่วไปควรได้รับ 0.8-1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน)
ซึ่งเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี การงดเนื้อสัตว์อาจทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียทำให้กล้ามเนื้อลีบ ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
โดยสรุปผู้ป่วยมะเร็งสามารถรับประทานเนื้อสัตว์ได้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาจใช้หลักอาหารที่ดีต่อสุขภาพซึ่งถือเป็นทางสายกลาง ได้แก่ ควรรับประทานเนื้อสัตว์และโปรตีนจากแหล่งอื่นที่หลากหลาย ทั้งเนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว นม และไข่ รับประทานเนื้อแปรรูปให้น้อย รับประทานเนื้อแดงได้ในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่เกิน 300-500 กรัมต่อสัปดาห์ เหล่านี้จะทำให้ได้รับโปรตีนที่เพียงพอโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ยิ่งผู้ป่วยที่กินได้น้อย มีน้ำหนักลดเยอะ ยิ่งไม่ควรจำกัดเนื้อสัตว์ เนื่องจากมักรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพออยู่แล้ว อีกทั้งควรปรึกษาบุคลากร
ทางการแพทย์เพื่อให้การดูแลรักษาทางโภชนาการ
ที่เหมาะสมต่อไป
ขอบคุณที่มา : บทความโดย นายแพทย์นริศร ลักขณานุรักษ์
27 มิ.ย. 2567
24 พ.ค. 2567
27 มิ.ย. 2567