สารสกัดเซซามินมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งได้จริงหรือไม่?

ตอบ มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของเซซามินต่อการต้านมะเร็ง โดยเซซามินสามารถช่วยในการรักษามะเร็งได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งระบบเลือด มะเร็งผิวหนัง รวมถึงมะเร็งตับอ่อนด้วย[3,6-9] โดยในมะเร็งแต่ละประเภทจะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น Anti-proliferative, Pro-apoptotic, Anti-inflammatory, Anti-angiogenic & pro-angiogenic, และ Pro-autophagocytic activities เป็นต้น[1-5]

สารสกัดเซซามินควรรับประทานในขนาดเท่าไหร่ และใช้ระยะเวลาในการรับประทานนานเท่าไหร่

ตอบ จากการทบทวนยังไม่พบการศึกษาที่มีการรายงานถึงขนาดและระยะเวลาที่แนะนำในการรับประทานเซซามิน แต่จากการศึกษาของ Namino Tomimori และคณะ[6] ที่ได้ทำการศึกษาในกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 48 คน เพื่อศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) และความปลอดภัยของการได้รับลิกแนนจากงาดำหลายขนาดผ่านการกินนั้น พบว่า การได้รับลิกแนน 50 มก./วัน ซ้ำ ๆ นั้นสามารถทนได้ และจากผลการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์นั้นไม่พบความแตกต่างระหว่างตัวแปรของค่าเภสัชจลนศาสตร์ (tmax, Cmax, AUC) ในวันที่ 1 และวันที่ 28 กล่าวคือ เซซามินไม่มีการสะสมอยู๋ในร่างกาย ทั้งนี้สารสกัดเซซามิน เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นสิ่งที่เสริมจากการรับประทานอาหารปกติ ผู้ที่ต้องการรับประทานจะต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน หากมีความผิดปกติใดเกิดขึ้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร


[1]. Majdalawieh AF, Massri M, Nasrallah GK. A comprehensive review on the anti-cancer properties and mechanisms of action of sesamin, a lignan in sesame seeds (Sesamum indicum). Eur. J. Pharmacol. 2017 Nov 15;815:512-521.
[2]. Wu MS, Aquino LBB, Barbaza MYU, Hsieh CL, Castro-Cruz KA, Yang LL, Tsai PW. Anti-Inflammatory and Anticancer Properties of Bioactive Compounds from Sesamum indicum L.-A Review. Molecules. 2019 Dec 4;24(24):4426.
[3]. Mili A, Das S, Nandakumar K, Lobo R. A comprehensive review on Sesamum indicum L.: Botanical, ethnopharmacological, phytochemical, and pharmacological aspects. J. Ethnopharmacol. 2021 Dec 5;281:114503.
[4]. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. เข้าถึงได้จาก http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_fda/600810_name.pdf.
[5]. Harikumar KB, Sung B, Tharakan ST, Pandey MK, Joy B, Guha S, Krishnan S, Aggarwal BB. Sesamin manifests chemopreventive effects through the suppression of NF-kappa B-regulated cell survival, proliferation, invasion, and angiogenic gene products. Mol. Cancer Res. 2010 May;8(5):751-61.
[6]. Tomimori N, Tanaka Y, Kitagawa Y, Fujii W, Sakakibara Y, Shibata H. Pharmacokinetics and safety of the sesame lignans, sesamin and episesamin, in healthy subjects. Biopharm. Drug Dispos. 2013 Nov;34(8):462-73.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้